เซรั่มแก้ผมร่วง เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้แก้ปัญหา ผมบาง ผมร่วง เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ชายส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหาผมร่วง และ หัวล้าน ยิ่งใครมีกรรมพันธุ์อยู่ด้วยแล้ว ยิ่งน่าเป็นกังวล แต่ไม่ใช่เพียงผู้ชายเท่านั้นผู้หญิงก็มีปัญหาเส้นผม เช่นกัน โดยเฉพาะผมร่วงแต่ละวันผู้หญิงนั้นผมร่วงเยอะมาก ดังนั้นเราจึงมีวิธีแก้ปัญหาผมร่วงผมบางมาฝากกัน การใช้เซรั่มแก้ผมร่วงจึงเป็นตัวช่วยสำคัญ ในการจัดการปัญหาผมร่วง
แนะนำเซรั่มแก้ผมร่วง
1. LAVENDA Organic Anti-Hair Loss Serum
เริ่มต้นกันด้วยเซรั่มลดผมบาง ลดผมร่วง LAVENDA Organic Anti-Hair Loss Serum มีส่วนผสมจากสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติ ไม่มีสารต้องห้ามที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ใช้แล้วช่วยให้เส้นผมแข็งแรง สุขภาพรากผม และหนังศีรษะสมบูรณ์เป็นสมดุล ผมร่วงน้อยลง ที่สำคัญช่วยเร่งให้ผมยาวเร็วขึ้นอีกด้วย
2. AVEDA invati advanced scalp revitalizer
ดูแลเส้นผมของคุณด้วย ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมจาก AVEDA ด้วยประสิทธิภาพที่ตรงเข้าบำรุงเส้นผมของคุณอย่างล้ำลึก ให้เส้นผมของคุณเรียบสวย เงางามสุขภาพดี ทรีตเมนท์แบบไม่ต้องล้างออก ใช้ได้ทุกวัน มีส่วนผสมของพืชธรรมชาติถึง 98 ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม เพื่อให้เส้นผมอยู่กับคุณ ได้ยาวนาน ให้เส้นผมแลดูหนาขึ้น เพื่อเส้นผมสุขภาพดี ช่วยลดการขาดร่วงของเส้นผม
3. PHYTO PHYTOPOLL INE Botanical Scalp Treatment
เป็นเซรั่มลดผมบาง ที่ใช้ก่อนสระผม เป็นตัวดีท็อกซ์หนังศีรษะ ช่วยให้หนังศีรษะสะอาดและรู้สึกสบาย
4. REVERIECAKE Restorative Scalp Tonic
เซรั่มลดผมบาง ตัวนี้มาจาก REVERIECAKE ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ค่า pH ของหนังศีรษะมีความสมดุล ชุ่มชื่น และฟื้นฟูผมแห้งเสียให้กลับมามีชีวิตชีวา
5. L’Occitane Aromachologie Body & Strength 1-minute Intensive Care
ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพเส้นผมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย 5 ชนิด ช่วยให้ผมแข็งแรงและมีน้ำหนักยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการพันกันของเส้นผมและทำให้ผมขาดหลุดร่วงน้อยลงอีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้ผมที่ร่วงหลุดไปไม่สามารถงอกกลับมาใหม่ได้อีก
ภาวะการเจ็บป่วย
สาเหตุให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมหรือภาวะผมร่วงชั่วคราวได้เช่น การผ่าตัด อุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรังบางประเภท ผมจะมีวงจรชีวิตในการเติบโตซึ่งอยู่ในระยะ rest phaseและระยะ shedding phase เมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะความเครียดจากการเจ็บป่วย ผมจะอยู่ในสภาวะช็อคและหยุดชะงักไม่สามารถมีชีวิตตามวงจรของการเติบโตในระยะต่อไปได้จึงทำให้เกิดอาการผมหลุดร่วงตามมา
ภาวะการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนบางตัวที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
การได้รับวิตามิน A มากเกินไป
โดยปกติร่างกายคนเราควรได้รับวิตามินA ในปริมาณ 5,000 IU(International Unit)ต่อวัน ทั้งจากอาหารหรืออาหารเสริม หากร่างกายได้รับในปริมาณที่เกินกว่านี้ ก็อาจทำให้มีผลทำให้เกิดผมร่วงตามมาได้
การขาดโปรตีน
หากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอเช่น คนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ คนที่อดอาหารเพื่อลดน้ำหนักก็จะส่งผลทำให้ร่างกายขาดโปรตีนและผมหลุดร่วงได้
ฮอร์โมนเพศหญิง
การเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเพศหญิงจากการตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิดและการหมดประจำเดือน จะมีผลไปกระตุ้นต่อมรับฮอร์โมนแอนโดรเจนที่บริเวณหนังศีรษะให้ทำงานมากขึ้นและมีผลให้เกิดการหลุดร่วงของผมตามมา
โรคโลหิตจาง
หากตรวจพบว่ามีปัญหาโลหิตจาง ร่างกายอาจขาดธาตุเหล็ก ซึ่งผู้ที่มีปัญหาโลหิตจางจะมีอาการดังต่อไปนี้ อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ผิวหนังซีด มือเย็น เท้าเย็น เป็นต้น
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ต่อมไทรอยด์จะอยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่าง ๆ ของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาน้อยก็สามารถทำให้ผมร่วงได้
โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง
โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจว่าเซลล์รากผมเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย จึงมีเม็ดเลือดขาวมารวมตัวกันเพื่อกัดกินและกำจัดสิ่งแปลกปลอมจึงกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง
น้ำหนักลดลงมากผิดปกติในระยะเวลาอันรวดเร็ว
อาจจะเกิดจากภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรัง การผ่าตัด การขาดสารอาหารได้หรือวิตามิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการผมร่วงผิดปกติได้ การที่น้ำหนักลดลงมาก ๆ ในเวลาอันรวดเร็วระบบต่าง ๆในร่างกายอาจจะทำงานผิดปกติไปชั่วคราว
การได้รับยาเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัดเป็นยารักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งแต่ก็มีผลในการไปทำลายเซลล์รากผมด้วยเช่นกัน
การได้รับยาบางชนิด
การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เช่น กลุ่ม Beta-blockers ยารักษารูมาตอยด์ Methotrexate ยารักษาโรค Bipolar(Lithium) ยาแก้ปวดบางชนิด ( Ibuprofen)ยากลุ่มNSAIDs
โรคถอนผมตัวเอง
เป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่ง และเป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ย้ำคิดย้ำทำ โดยการถอนผมบนหนังศีรษะหรือขนตามตัว เช่น ขนตา ขนจมูก ขนคิ้ว เป็นต้น โดยมากมักถอนขนขณะกำลังทำกิจกรรมบางอย่างที่เพลิน ๆ จนผมหายเป็นหย่อม ๆหรือร่วงจนเกือบหมดหัว
วัยอายุ
ภาวะผมร่วงผมบาง เนื่องด้วยวัยหรือเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยมากเมื่ออายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไป อาจจะมีอาการผมร่วงหรือผมบางลงได้
Anabolic steroids
เป็นฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ แอนโดรเจนสูง คล้ายกับคนที่เป็นโรค Polycystic ovary disease(PCOS) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะผมร่วงตามมาได้