แก้ปัญหาผมร่วง

ผมร่วงคือผมหลุดร่างก่อนกำหนด หลายคนมักจะเจอกับปัญหานี้ ปกติผมของคนเราจะร่วงภายใน 2 – 3 เดือน ซึ่งวงจรชีวิตของผมจะมีชีวิตอยู่ในช่วง 2 – 6 ปี และ ยาวประมาณ ½ นิ้ว ต่อเดือน และ เมื่อผมร่วงแล้วจะมีผมใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งหากผิดปกติจากนี้ ถือว่าเข้าสู่สภาวะผมร่วง

สาเหตุของผมร่วง

  • อายุ เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะย่างเข้าเลข 5 ผมของคุณก็จะมีโอกาสหลุดร่วงได้ง่าย ดังนั้นคุณจึงควรดูแลเส้นผมของคุณด้วยการงดดัด งดย้อม งดทำสีผม เพื่อเป็นการปกป้องเส้นผมของคุณ
  • กรรมพันธุ์ เมื่อคุณรู้ว่าคนในครอบครัวของคุณมีปัญหาเรื่องผมร่วง คุณต้องรีบดูแลรักษาแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากตัวการสำคัญของปัญหาการเกิดผมร่วง คือ พันธุกรรม
  • ฮอร์โมน คุณแม่หลังคลอดมักจะมีปัญหาเรื่องเส้นผมที่หลุดร่วงเนื่องจากมีการปรับสภาพฮอร์โมนในร่างกาย หรือ การรับประทานยาคุมกำเนิดก็มีส่วนในเรื่องของฮอร์โมน วิธีแก้ก็คือ ควรปรึกษาแพทย์
  • ยางบางชนิดเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว อาจส่งผลให้เกิดผมร่วงได้
  • ความเครียด ผู้ที่มีปัญหาในชีวิต มักเกิดความเครียด และ ความเครียดนี่ล่ะที่จะเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผมร่วงได้
  • รับประทานอาหารรสจัด ใครจะคิดบ้างว่าการรับประทานอาหารรสจัดนั้นจะก่อปัญหาทำให้ผมร่วงได้ แต่ใช่ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด หวานจัด หรือ เค็มจัด หรือแม้กระทั่ง การรับประทานอาหารประเภททอดที่มีน้ำมันเยอะ ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผมร่วงได้
  • การทำสีผม เนื่องจากสารเคมีในน้ำยาทำสีผมบางตัวแรงเกินไป ทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงได้
  • ความเครียด ความเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด การมีไข้เป็นเวลานาน การคลอดบุตร ภาวะเครียดทางจิตใจ การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
  • ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป
  • การฉายรังสี
  • การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อรา ซิฟิลิส เอชไอวี เริม
  • ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
  • ภาวะโลหิตจาง

ปัจจัยเสี่ยงต่อผมร่วง

ประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้านหรือผมร่วง แก่ก่อนวัย (เป็นปัญหาศีรษะล้านของผู้ชายโดยเฉพาะ) การตั้งครรภ์ ความเครียด ภาวะโภชนาการต่ำ

 วิธีแก้ปัญหาผมร่วงจากการทำสี บ่อย

 

แล้วผมร่วงแค่ไหนต้องปรึกษาแพทย์

ปกติผมของคนเราจะมีประมาณ 80,000 – 1,200,000 เส้น โดยมีวงจรอายุของเส้นผม 2 – 6 ปี ซึ่งปกติผมคนเราจะร่วงเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว แต่จะร่วงไม่เกิน 30 – 50 เส้น

  • ผมร่วงเป็นหย่อม เป็นลักษณะผมร่วงเฉพาะที่ในรูปแบบกลม หรือ รี ซึ่งตรงกลางจะไม่มีเส้นผม และ หนังศีรษะ บริเวณนั้นจะไม่แดง และ ไม่เจ็บ ไม่คัน และ ไม่เป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ผู้ป่วยอาจมีผมร่วงเพียง 1 – 2 หย่อม หรือ อาจจะมากกว่านั้น
  • ผมร่วงจากการถอน เด็กที่มีปัญหากดดันทางด้านจิตใจ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาด้านการเรียน ด้านครอบครัว โดยที่หนังศีรษะบริเวณนั้นจะไม่มีผื่นคันหรือเป็นขุย
  • ผมร่างจากเชื้อรา ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา โดยโรคนี้ผมจะร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นผื่นแดงคัน เป็นขุยหรือสะเก็ด
  • ผมร่วงจากการทำผม การทำสีผมบ่อย หรือ การดัด การเป่า จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วง เส้นผมเปราะบางได้ง่าย
  • ผมร่วงจากยา และ การฉายรังสี การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง ยาคุมกำเนิด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยาเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดอาการผมร่วงได้

การแก้ปัญหาผมร่วง

การรักษาผมร่วง ได้แก่ การใช้ยารักษา การผ่าตัด การรักษาด้วยเลเซอร์ การปลูกผม หรือใส่วิกผม ซึ่งแพทย์อาจแนะนำการรักษาแบบผสมผสานด้วยวิธีเหล่านี้ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด เป้าหมายของการรักษาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม และชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม หรือเพื่อปกปิดการสูญเสียของเส้นผม

การรักษาด้วยยาทางการแพทย์ หากผมร่วงมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัว แพทย์ก็จะรักษาโรคนั้น ๆ ซึ่งอาจรักษาโดยการใช้ยาเพื่อลดการอักเสบและยากดระบบภูมิคุ้มกัน แต่หากการใช้ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เกิดผมร่วง แพทย์ก็จะแนะนำให้หยุดใช้ยานั้น หรือรอจนกว่าจะไม่ต้องใช้ยานั้นแล้ว เช่น การทำคีโม เป็นต้น

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ผมร่วง

  • สระผมให้สะอาด ไม่ควรสระผมบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และอาจหลุดร่วงได้ง่าย
  • ควรเช็ดผมให้แห้ง หลังสระ หรืออาจจะใช้ไดร์เป่าผม เป่าให้แห้ง ซึ่งในขณะเป่าไม่ควรใช้ความร้อนในระดับที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้หนังศีรษะแห้ง
  • ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งการงอกของเส้นผมอาหารที่มีโปรตีนจะเป็นตัวช่วยเป็นอย่างมาก และควรรับประทานที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับ ผักใบเขียว เพื่อลดการหลุดร่วงของเส้นผม
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง โดยปกติแล้วหนังศีรษะของคนเราจะขับน้ำมันส่วนเกินออกตลอดเวลา หากเรายิ่งรับประทานอาหารที่มีไขมันมากก็จะยิ่งเพิ่มการขับน้ำมัน ทำให้หนังศีรษะมันง่าย และยิ่งมันง่ายก็จะยิ่งสะสมฝุ่นมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผมหลุดร่วง และ อาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน หรือ อาหารที่ผ่านการทอด อาหารรสเค็มจัด ผงชูรส หรือ เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมวิตามิน B6 ซึ่งเป็นวิตามินที่กระตุ้นการงอกของเส้นผม
  • การออกกำลังกายเป็นประจำ เมื่อเราออกกำลังกายร่างกายเส้นเลือดก็จะสูบฉีด และ เมื่อเส้นเลือดสูบฉีดก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

อ่านบทความอื่นๆได้ที่นี่

alepma.com

By Alepma.com

แก้ปัญหาผมร่วง ศีรษะล้าน ผมบาง แชมพูแก้ผมร่วง ปัญหาผมร่วง สิ่งที่ทำลาย ความมั่นใจ ผมร่วง ทำคีโม ผมขาดวิตามิน แก้ปัญหายังไงดี